โครงการรัสเซียศึกษา

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของโลกมาช้านาน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ความโดดเด่นของประวัติศาสตร์อีกทั้งความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะและวัฒนธรรมรัสเซียนั้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะสร้างหรือเสริมความสัมพันธ์ด้านต่างๆ กับรัสเซียทั้งสิ้น แต่เนื่องจากรัสเซียเพิ่งจะเปิดตนเองให้โลกภายนอกได้รู้จัก ทำให้การสร้างความสัมพันธ์ที่ขาดความรู้และความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถ่องแท้นั้นเป็นไปโดยไม่ราบรื่นนัก

อนึ่ง แม้ประเทศไทยกับประเทศรัสเซียจะมีความสัมพันธ์อันดีมา กว่า 100 ปี แล้วก็ตาม แต่ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับประเทศรัสเซียทั้งในเชิงปริมาณและ คุณภาพจึงทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลถึงแม้ว่าโอกาสได้เปิดกว้างเป็นอย่างมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ทำไมควรเรียนโครงการรัสเซียศึกษา

  1. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ที่แต่ละประเทศจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทต่อโลกมากอย่างประเทศรัสเซีย แต่ชาวไทยยังมีความรู้น้อยเกี่ยวกับประเทศนี้ ซึ่งมีผลต่อการขยายความสัมพันธ์และการพึ่งพาอาศัยกันในด้านต่างๆ อันจะเป็นการช่วยสร้างความเจริญและความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  2. นักศึกษาจะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในลักษณะสหวิทยาการด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม ทำให้เป็นคนที่มีความรอบรู้ มีโลกทัศน์กว้างไกล สามารถก้าวทันโลกสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้
  3. นักศึกษาจะได้เรียนและฝึกฝนทักษะการใช้ภาษารัสเซีย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง กับอาจารย์เจ้าของภาษาในลักษณะการเรียนแบบกลุ่มย่อย ซึ่งเน้นประสิทธิภาพของการเรียนการสอนและการนำไปใช้จริงในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับชาวรัสเซียหรือชาวประเทศเครือรัฐอิสระอีก 11 ประเทศ
  4. นักศึกษาจะได้เรียนและฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ต่อเนื่องจากความรู้ ที่ได้เรียนในโรงเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาในลักษณะการเรียนแบบกลุ่มย่อย ซึ่งเน้นประสิทธิภาพของการเรียนและการสอนและนำไปใช้ในการทำงาน
  5. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชานี้ สามารถเข้าทำงานได้ทั้งในหน่วยงานของรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภูมิภาคหรือนานาชาติ หรือหน่วยงานของเอกชนที่ประกอบธุรกิจการค้ากับต่างประเทศ และยังสามารถสร้างงานของตนเองหรือศึกษาต่อในระดับสูง
  6. เป็นสาขาวิชาที่ทันสมัย ทั้งนี้ประเทศไทยโดยคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่เปิดการเรียนการสอน
    สาขาวิชานี้ในระดับปริญญาตรี ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ต่างเห็นความสำคัญและจัดการเรียนการสอนสาขาวิชานี้มาช้านานแล้ว

คณะกรรมการบริหารโครงการรัสเซียศึกษา

คณะกรรมการบริหารโครงการรัสเซียศึกษา ที่ปรึกษาโครงการ

รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร
ศาสตรจารย์ ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์
อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ
เอกอัครราชทูตรัสเซีย ประจำประเทศไทย
เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศรัสเซีย
ประธานหอการค้าไทย-รัสเซีย
นายกสมาคมนักเรียนเก่ารัสเซีย
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้อำนวยการโครงการรัสเซียศึกษา

อาจารย์ วัฒนะ คุ้นวงศ์

กรรมการโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสรา โกเมศมุนีบริรักษ์
อาจารย์ ดร. กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ
อาจารย์ ดร. กรณภา บุญมาเลิศ
อาจารย์ กติมา พ่วงชิงงาม

ผู้จัดการโครงการ

นางรชยา ดลลัชนัย

เจ้าหน้าที่โครงการ

นางโสภิต ปราณีราษฎร์
นางจิตติมา ชัยประกายวรรณ์
นายชูศักดิ์ บำรุงสุข

คณาจารย์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชารัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร M.A. (Comparative Politics and Russian Studies)
ศาสตราจารย์ ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ M.A. (Arts)
ศาสตราจารย์ ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ Ph.D. (International Business Law)
รองศาสตราจารย์ จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี M.A. (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร Ph.D. (Economics)
รองศาสตราจารย์ ศันสนีย์ ตันติวิท วท.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย ยิ่งบุญ วัชรนุกูลเกียรติ M.A. (Russian Language and Literature)
รองศาสตราจารย์ ยอดบุญ เลิศฤทธิ์ M.A. (Russian Language and Literature)
รองศาสตราจารย์ ดร.เรือโท นภดล ชาติประเสริฐ ร.ด. (รัฐศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภัสสร์ เทพชาตรี Ph.D. (Political Sciences)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมภักดิ์ จันทร์สุกรี Ph.D. (Russian Language and Literature)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรณ เชษฐสุมน Ph.D. (Russian Language and Literature)
ผู้ชาวยศาสตราจารย์ ประภัสรา โกเมศมุนีบริรักษ์ M.A. (Translator and Interpreter of French and Russian)
อาจารย์ ดร. กัณฐัศศา ทันจิตต์ Ph.D. (Political Sciences and International Relations)
อาจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ พงษ์หิรัญ Ph.D. (Physics)
อาจารย์ ธีรพจน์ ศิริจันทร์ M.A. (Philosophy)
อาจารย์พงศ์พันธุ์ จันทร์สุกรี LL.B. (กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ)
อาจารย์ พีระยา หอมโกศล M.A. (International Relations)
อาจารย์ วิชนี ศรีสนิท M.A. (International Relations)
อาจารย์ สิริมา โอชารส M.A. (Regional Studies)
อาจารย์ วัฒนะ คุ้นวงศ์ M.A. (Economics)
อาจารย์ วีรภัทร คำรัตน์ M.A. (Russian as a Foreign Language)
อาจารย์ ยิ่งศักดิ์ ษัฏเสน M.A. (Russian as a Foreign Language)
อาจารย์ ชณัฐญา จุลนัย M.A. (Russian Language and Literature)
อาจารย์ กติมา พ่วงชิงงาม M.A. (International Relations)
อาจารย์ หลุยส์มงคล ทรัพย์กุล M.A. (International Relations)
อาจารย์ พงษ์ศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ M.Arch. (Architecture)
อาจารย์ อรุณวรรณ ร้อยจันทร์ M.A. (Russian as a Foreign Language)
อาจารย์ จิตติภัทร พูนขำ M.Phil. (International Relations)
อาจารย์ อสิลา สินนา M.A. (Russian History)
อาจารย์ ศิริรัตน์ คงศิริพิพัฒน์ B.A. (Russian Language and Literature)
อาจารย์ นภสร วาทหงษ์ B.A. (Russian Language and Literature)
อาจารย์ Mashitlova Angelina M.A. (Russian Language and Literature)

แผนผังองค์กร